วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ดุริยางคศาสตร์บัณฑิต



กรณีดุริยางคศาสตร์บัณฑิต ม.มหิดล

ใครที่อยู่ในวงการการศึกษาคงจะไม่คิดว่า สกอ.(สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) จะไม่รับรองหลักสูตรนี้ให้กับ ม.มหิดล ซึ่งเดิมทีหลักสูตรนี้เป็น ศิลปศาสตร์บัณฑิต (ดนตรีสากล) ในวงเล็บจะเป็นสาขาวิชาต่างๆ ที่เปิด หลักสูตรที่มีปัญหากับนักศึกษาสามร้อยคนคือ เทคโนโลยีดนตรี และ ธุรกิจดนตรี ตามข่าว

ปัญหาอยู่ที่ทางวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล ต้องการเปลี่ยนหลักสูตรเป็น ดุริยางคศาสตร์บัณฑิต Bachelor of Music เปลี่ยนจาก Bachelor of Arts เพื่อให้เป็นสากล ซึ่งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์แห่งนี้ติดอันดับ 9 ในเอเชียของเรา

หลังจากการยื่นขอเปลี่ยนหลักสูตรกับ สกอ. จึงเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น ทาง กพ. และ สกอ. ไม่รับรองหลักสูตรให้ เพราะหลักสูตรไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาของ สกอ. ในเรื่องอาจารย์ผู้สอน และรายวิชามีน้อยกว่าที่ สกอ. กำหนด ประมาณนี้ ครับ และทางคณบดี เชื่อว่าหลักสูตรดังกล่าวดีพอแล้ว และได้มาตตราฐานสากล แต่ สกอ. คงยืนยันตามเดิมว่า หลักสูตรยังไม่ผ่านเกณฑ์

ทางแก้ปัญหาที่จะให้ กพ. รับรองคือ กลับไปใช้ หลักสูตรศิลปศาสตร์บันฑิต หรือ แก้ไขหลักสูตรดุริยางคศาสตร์บัณฑิต แต่ ณ วันนี้ คณบดี ได้ลาออกไปแล้ว ต้องให้ผู้บริหารคนใหม่เข้ามาแก้ปัญหาต่อ

จากเรื่อง ม.อีสาน ที่มีข่าวก่อนหน้านี้ สกอ.ได้เข้าบริหารมหาลัยเอง โดยใช้ทีมงานจากมหาลัยใหญ่แห่งหนึ่ง ในทางธุรกิจอาจจะใช้คำว่าเข้ายึดกิจการ ซึ่งในกรณีนี้ถือว่าเป็นโทษขั้นร้ายแรงสำหรับ ม.อีสาน และผมก็เพิ่งได้เห็นในครั้งนี้ จากกรณี ม.อีสาน จะเห็นได้ว่า สกอ. มีอำนาจมาก สามารถสั่งปิดมหาลัยได้เลย ดูจะมีอำนาจมากเกินไปหรือป่าว แต่ต่างประเทศก็มีองค์กรแบบนี้ และมีอำนาจสั่งปิดมหาลัยได้เช่นกัน

ถ้าเรามองในมุมที่มหาลัยเอกชนที่ไม่ได้มาตราฐาน และ สกอ. คอยตรวจสอบดูแล ก็จะเป็นการดีสำหรับผู้เรียนและผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่กับมหาลัยที่ดี มีวิชาการเป็ดเลิศ สกอ. จะเป็นอุปสรรคอย่างมากในการพัฒนาการศึกษา เพราะติดกับกฏระเบียบและข้อกฎหมายมากกมาย

ในส่วนของการรับรองปริญญาต่างๆ สกอ. และ กพ. จะทำหน้าที่ประสานกัน คือ ปริญญานั้นต้องผ่านการเห็นชอบจากทั้ง สกอ. และ กพ. นักศึกษาของ ม.มหิดล ที่จบไปถ้าไม่ได้รับราชการก็สามารถใช้ปริญญานั้นได้ครับ นอกจากว่าองค์กรนั้นจะมองว่าปริญญานั้นมีปัญหา แต่ในวงการดนตรีเขาดูที่ผลงานมากกว่าปริญญาครับ และถ้าจะไปเรียนต่อต่างประเทศน่าจะไปได้ ถ้ามหาลัยนั้นไม่ถามหาหนังสือรับรองจาก กพ. หรือใช้การติดันดับ 9 ของเอเชีย ก็น่าจะได้ครับ แต่โดยมากไม่ว่าที่ไหนเขาจะยึดเอกสารจากรัฐบาลเป็นหลัก

สำหรับผู้ที่จะเข้าเรียนในสถาบันอุดมศึกษา โดยเฉพาะที่เป็นเอกชนหรือมหาลัยในต่างประเทศ สามารถตรวจสอบการรับรองของ กพ. ได้ที่หน้าเว็บไซด์ของ กพ. ผู้เข้าเรียนควรเลือกเรียนในมหาลัยของรัฐบาลจะดีที่สุด เพราะมหาลัยของรัฐฯ จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของราชการเป็นปกติอยู่แล้ว และจะมีปัญหาน้อยกว่าของเอกชน

ส่วนคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการการศึกษาก็ไม่ต้องกังวลกับ สกอ. เพราะ สกอ. ดูแลเฉพาะเรื่องระดับอุดมศึกษา ถ้าทำงานด้านอื่นๆ เมื่อ กพ. รับรองหลักสูตรก็ถือว่า มีศักดิ์และสิทธิ์ในปริญญานั้นอย่างสมบูรณ์ ครับ


By ODevel



Power by healthyskiner

AgeLoc Technology & Antioxidant


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น