โครงสร้างแบบ ล่าง ขึ้น บน
แนวคิดนี้ มาจากแนวทางของ มหาวิทยาลัยชีวิต และ หลักเศรษฐกิจพอเพียง
การเมืองระดับประเทศ ของเราในขณะนี้ ไม่อาจจะแก้ปัญหาของชาติได้ เพราะ ทั้งความวุ่นวายทางการเมือง และการไม่สามารถตอบสนอง หรือเข้าถึงความต้องการที่แท้จริงของประชาชนได้
การสร้างบ้าน สร้างตึก ต้องสร้างจากฐาน แล้วขึ้นไปถึงยอด
การพัฒนาชาติ ต้องพัฒนาจาก ระดับครอบครัวและชุมชน เมื่อท้องถิ่นพัฒนา สังคมและประเทศชาติก็พัฒนา
ตามแนวคิดนี้ นโยบายของรัฐบาล จะไม่สามารถตอบสนองความต้องการ หรือแก้ไขปัญหาของประชาชนได้ เหมือนการจัดอาหารในงานโต๊ะจีน อาหารถูกจัดมาเป็นชุดแล้วโดยผู้จัดงาน เปลี่ยนไม่ได้ ก็ไม่อาจจะรู้ได้ว่า ผู้กิน อยากจะกินหรือป่าว เป็นการจัดสรรมาจากข้างบนลงมาข้างล่าง
ในทางกลับกัน ถ้าเป็นร้านอาหารตามสั่ง ผู้กินจะเป็นคนเลือกเองว่า อยากจะกินอะไร ไม่อยากกินอะไร อะไรกินแล้วมีประโยชน์กับครอบครัว ญาติพี่น้อง ของเขา แต่คนจ่ายเงินค่าอาหารคือ รัฐบาล
ชุมชุนท้องถิ่น จะรู้ว่าพวกเขาต้องการอะไร เขาขาดอะไร ตัวอย่างเช่น ตลาดสามชุก 100 ปี ที่สุพรรณบุรี จะถูกรื้อถอนอาคารไม้เก่าทิ้งไปทั้งหมด และจะสร้างตึกใหม่ขึ้นมาแทน บนพื้นที่ที่เป็นของรัฐ แต่ชุมชนชาวสามชุกไม่ยอม จึงได้ร่วมกันคัดค้าน และรักษาตลาด 100 ปีนี้ไว้ได้ คือนึกจะรื้อก็รื้อ ไม่ได้ถามประชาชนว่า พวกเขาอยากจะให้ทำหรือป่าว ไปคิดแทนพวกเขาหมด
นอกจากนี้ ก็จะมี แนวคิดแบบ ใน ไปสู่ นอก คือ พัฒนาครอบครัว ชุมชนก่อน แล้วจึงขยายขอบเขตไปสู่สังคมที่ใหญ่ขึ้น และไปสู่ระดับชาติ
เมื่อชุมชนได้รับการเรียนรู้ ได้อยู่ร่วมกันแบบพึ่งพากัน ช่วยกันคิดช่วยกันทำ ก่อให้เกิด ความเข้มแข็ง และพลัง ที่จะต่อสู่กับโลกทุนนิยม ไม่ต้องกลัวที่จะต้องเผชิญกับ FTA ที่รัฐ ทำโดยไม่ได้ให้ข้อมูล เพื่อให้เกษตรกร พ่อค้า ได้เตรียมพร้อมที่จะรับกับผลที่จะเกิดจากมัน
การดำเนินงานอันใด ควรทำจาก เล็ก ไป ใหญ่ อย่าไปกู้เงินก้อนใหญ่มา แล้วถ้ามันพลาดก็หมดตัว เริ่มจากสิ่งที่ทำกินเองใช้เองก่อน อย่าทิ้งการปลูกข้าว ถึงแม้จะปลูกพืชเชิงเดี่ยวอยู่ ก็ควรเหลือพื้นที่ไว้ปลูกข้าวบ้าง ถ้าราคาพืชผลอื่นไม่ดี คุณก็ยังมีข้าวกิน ถ้าทำแล้วเหลือก็ขาย ถ้าสินค้าใดดีพอที่จะออกสู่ตลาดที่กว้างขึ้น ก็ค่อยปล่อยสู่ตลาดที่ใหญ่ขึ้น ไม่ต้องทำมากเกินความต้องการของตลาด ไม่ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันทั้งตำบล เมื่อขายได้มาก ก็พัฒนาให้เป็น OTOP ส่งขายออกสู่ตลาดระบบชาติได้
เล็ก ไป ใหญ่, ใน สู่ นอก และ ล่าง ขึ้น บน
รัฐ ควรให้ท้องถิ่นได้คิดเองทำเองให้มากที่สุด หน้าที่ของรัฐ คือ จัดสรรงบประมาณลงมา ตรวจสอบประเมินผล และเป็นเหมือนพี่เลี้ยงคอยพลักดัน ดูแล ให้การดำเนินงานเป็นไปตามแนวทางที่พวกเขาได้ร่วมกันคิดไว้
“ชุมชนเรียนรู้ ชุมชนเข้มแข็ง ชาติพัฒนา”
by ODevel
.
เพลง เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ
ตลาดสามชุก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น